‘แบงก์ชาติ’เปิด 3 ตัวแปร ชั่งน้ำหนักขึ้นดอกเบี้ยเสี่ยงแค่ไหน

เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.65 ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติไม่เป็นเอกฉันท์ 4 ต่อ 3 เสียง ให้คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.5% ส่วนอีก 3 เสียง ให้ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% และได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปีนี้ใหม่จาก 3.2% เพิ่มเป็น 3.3% โดยมองแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ต่อเนื่อง จากการบริโภคเอกชนฟื้นตัว จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติดีขึ้น เป็นผลจากการเปิดประเทศ ด้านตลาดแรงงานและรายได้ครัวเรือนมีสัญญาณปรับดีขึ้นตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด ขณะที่ในปี 66 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ 4.2% ลดจากคาดเดิม 4.4%

ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 65 กนง.คาดว่าจะอยู่ที่ 6.2% ปรับเพิ่มจาก 4.9% และปี 66 คาดว่าอยู่ที่ 2.5% จากเดิม 1.7% โดยอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงเกินกรอบเป้าหมายตลอดปี 65 ตามราคาพลังงานโลกและการส่งผ่านต้นทุนภายในประเทศที่สูงขึ้นและกระจายตัวในหมวดสินค้าหลากหลายขึ้น แต่ประเมินว่ายังเป็นผลจากแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปทานเป็นสำคัญ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางไม่ได้ปรับสูงขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมาคำพูดจาก ทดลองปั่นสล็อต

นอกจากนี้ ในที่ประชุม กนง.ครั้งนี้ ได้ส่งสัญญาณชัดเจนว่ามีแนวโน้มที่จะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในระยะข้างหน้า โดยระบุข้อความท่อนหนึ่งว่า “คณะกรรมการฯ ประเมินว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อมีความชัดเจนขึ้น จึงเห็นว่าการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากในระดับปัจจุบันจะมีความจำเป็นลดลงในระยะข้างหน้า ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ จะพิจารณาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้สอดคล้องกับแนวโน้มและความเสี่ยงของเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่เปลี่ยนไป”

ในเรื่องนี้ “ปิติ ดิษยทัต” ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะเลขานุการ กนง. ได้เปิดปัจจัยที่จะเข้ามาเป็นองค์ประกอบในการพิจารณาของ กนง.ในการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในระยะข้างหน้า โดยระบุว่า “การปรับขึ้นดอกเบี้ยต้องชั่งน้ำหนัก 3 ด้าน” ได้แก่

ด้านที่ 1 ชั่งน้ำหนักระหว่างสนับสนุนฟื้นตัวเศรษฐกิจกับการเพิ่มขึ้นเงินเฟ้อ ถ้าเศรษฐกิจฟื้นควรถอนคันเร่งดำเนินนโยบาย เพื่อไม่ให้เศรษฐกิจร้อนแรงในอนาคต จนมาเสริมไฟเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ไม่อยากให้เศรษฐกิจร้อนแรงซ้ำเติมปัญหาเงินเฟ้อ

ด้านที่ 2 ชั่งน้ำหนักเรื่องเวลาว่าจะปรับขึ้นเมื่อไร จะปรับขึ้นครั้งหน้าหรือครั้งต่อไปต้องมาดูกัน ดูความชัดเจนและความต่อเนื่อง ให้แน่ใจว่าขึ้นดอกเบี้ยไม่เป็นอุปสรรคการฟื้นตัวเศรษฐกิจ แต่ถ้าขึ้นช้าไป เศรษฐกิจฟื้นเร็วไปจะไปเสริมไฟเงินเฟ้อในปีหน้า ซึ่งอาจต้องใช้ยาแรงในปีหน้า และอาจมีผลเสียทางเศรษฐกิจไม่จำเป็นคำพูดจาก ฟรี เกมสล็อตทดลองเล่น

ด้านที่ 3 ชั่งน้ำหนักหากขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มภาระด้านการเงินให้กับบางกลุ่ม โดยเฉพาะครัวเรือนรายได้น้อย แต่เมื่อเทียบภาระที่เกิดขึ้น ระหว่างเงินเฟ้อกับขึ้นดอกเบี้ย เงินเฟ้อสร้างภาระมากกว่าค่อนข้างเยอะ จากต้นปีจนปัจจุบันเงินเฟ้อเพิ่มค่าใช้จ่าย 850 บาทต่อเดือน หรือ 3.6% ของรายได้ แต่สมมุติถ้าขึ้นดอกเบี้ย 1% ภาระค่าใช้จ่าย 120 บาทต่อเดือน หรือ 0.5% ของรายได้ ต่างกันถึง 7-8 เท่า

“กนง.เป็นห่วงเงินเฟ้อสูงขึ้น ยิ่งสูงนาน ยิ่งเป็นภาระค่าใช้จ่ายนาน ถ้าขึ้นดอกเบี้ยแต่เพิ่มภาระเล็กน้อย และให้เงินเฟ้อกลับลงมา เป็นการชั่งน้ำหนักน่าจะคุ้มที่จะดูแลประชาชน” ปิติ กล่าว

ทำให้หลังจากนี้ต้องจับตาดูการประชุม กนง.อย่างใกล้ชิด ซึ่งยังเหลืออีก 3 ครั้งในปีนี้ คือ วันที่ 10 ส.ค.65, วันที่ 28 ก.ย.65 และวันที่ 30 พ.ย.65 โดยหากดูการส่งสัญญาณแล้วอาจปรับขึ้นได้อย่างน้อย 1 ครั้ง เพื่อลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจไทยที่กำลังฟื้นตัว ไม่ให้กระทบซ้ำเติมปัญหาเงินเฟ้อที่กำลังพุ่งแรงในปัจจุบัน